KIN Home Care บริการหัตถการทางการพยาบาลที่บ้าน

 

ทำไมถึงต้องเปลี่ยนสายปัสสาวะ และเปลี่ยนสายอาหาร กับพยาบาล?

สายปัสสาวะ และสายอาหารเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะ หรือรับประทานอาหารได้ด้วยตัวเอง สายปัสสาวะจะถูกสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ส่วนสายอาหารจะถูกสอดเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อให้อาหาร และน้ำแก่ผู้ป่วย

การเปลี่ยนสายปัสสาวะ และสายอาหาร เป็นงานที่ต้องทำโดยพยาบาลที่มีความชำนาญ เนื่องจากต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือบาดเจ็บต่อผู้ป่วย ไปดูอันตราย และอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น หากทำเองโดยไม่ได้รับการอบรม หรือไปโดยไม่รู้

 

การสายสวนปัสสาวะ

สำหรับผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะ หรือคาสายสวนปัสสาวะนั้น เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติหรือมีปัญหาในการขับปัสสาวะ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถลุกมาทำธุระส่วนตัวเองได้ หรือผู้ป่วยหลังการผ่าตัดที่ต้องมีการใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อประเมินการทำงานของไต เป็นต้น จึงต้องมีการใส่สายสวนปัสสาวะ ซึ่งเป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะที่ปลอดเชื้อเข้าไปคาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางรูเปิดของท่อปัสสาวะ เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะ ลงสู่ถุงปัสสาวะที่เป็นระบบปิด

 

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยจากการคาสายสวนปัสสาวะ

การใส่สายสวนปัสสาวะซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายอาจทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการเจ็บหรือปวดระบบทางเดินปัสสาวะหรือบริเวณใต้สะดือได้
การใส่สายสวนปัสสาวะจะทำให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทำได้อย่างจำกัด เพราะต้องระวังการไปกดทับสายสวนฯ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว อ่อนล้า และอ่อนเพลีย
สายสวนปัสสาวะอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคจากภายนอกผ่านเข้าสู่ร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

 

การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ

  ในการดูแลตัวผู้ป่วยและการดูแลสายสวนปัสสาวะเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสำหรับผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะจะต้องระมัดระวังในการป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลไม่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยที่มีการคาสายปัสสาวะ หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใส่สายสวนปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใส่สายสวนฯ เพื่อระบายปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน คือ เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยมีอาการที่สังเกตได้เหล่านี้

  • มีไข้
  • ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือมีการตกตะกอน
  • ปัสสาวะมีกลิ่นฉุนผิดปกติ
  • อาจมีปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย

และนอกเหนือจากนี้ผู้ป่วยอาจเกิดอาการระคายเคืองจากการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะทำให้เกิดอาการเจ็บและปวดบริเวณที่มีการเดินสายสวนปัสสาวะและอาจมีเลือดผสมปัสสาวะด้วยก็ได้ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อประเมินอาการและทำการรักษา

 

การให้อาหารทางสายยาง

 

NG tube หรือ Nasogastric Tube หมายถึง การใส่ท่อสายยางผ่านระหว่างรูจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งมักใช้เป็นทางเลือกแรกเมื่อจำเป็นต้องให้อาหารในผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เองเพียงพอ และยังมีการทำงานของระบบทางเดินอาหารปกติ โดยมักให้ในระยะสั้นไม่เกิน 4 สัปดาห์

แต่หากจำเป็นต้อง ได้รับอาหารทางสายยาง นานเกินกว่า 4-6 สัปดาห์ ควรพิจารณาเปลี่ยนเป็นสายให้อาหารผ่านผนังหน้าท้อง (gastrostomy or PEG) เพื่อลดผลกระทบต่อเยื่อบุจมูกและคอจากการคาสายให้อาหารทางจมูกเป็นเวลานาน ลดโอกาสสำลัก และลดความถี่การเปลี่ยนสาย

 

ใครบ้างที่ควรให้อาหารทางสายยาง (NG tube) ?

  • ผู้ที่รับประทานอาหารทางปากไม่ได้ หรือทานได้น้อยกว่า 60% ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน นานติดต่อกันเกิน 3-7 วัน
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการกลืน และสำลักอาหาร
  • ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร
  • ผู้ที่ไม่รู้สึกตัว หรือไม่ยอมรับประทานทางปาก รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคทางจิตเวช เช่น Anorexia nervosa หรือ โรคสมองเสื่อม เช่น Dementia, Alzheimer, Stroke

 

ให้อาหารทางสายยางต้องให้อย่างไร?

  1. เวลาการให้อาหาร (Feeding) โดยทั่วไปแนะนำให้กำหนดเป็นมื้อ ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง หรือวันละ 4 มื้อ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
  2. ล้างมือให้สะอาด เช็ดมือให้แห้ง จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่ง หรือท่านอนหงายศีรษะสูงกึ่งนั่ง หากผู้ป่วยมีเสมหะให้ไอหรือดูดเสมหะออกให้หมดก่อนให้อาหารทุกครั้ง
  3. เช็กตำแหน่งของสาย ที่ขอบจมูกว่าอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือไม่ รวมถึงเช็กสภาพพลาสเตอร์ยึดติดสายด้วย
  4. พับสายให้อาหารก่อนเปิดจุกสายทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ของเหลวไหลย้อนจากกระเพาะเมื่อเปิดจุก

ดูแลสายให้อาหารอย่างไรไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

ดูแลบริเวณจมูกและช่องปาก เช็ดจมูกด้วยน้ำเกลือทุกวัน ทำความสะอาดปากและฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยให้ผู้ป่วยแปรงฟัน บ้วนปาก ใช้สําลี ผ้าชุบน้ำ เช็ดให้สะอาด ถ้าไม่สามารถบ้วนปากเองได้ ให้เปลี่ยนตำแหน่งพลาสเตอร์เพื่อป้องกันแผลกดทับ และหมั่นสำรวจผิวหนังรอบๆ รูจมูกบ่อยๆ ว่ามีบาดแผลหรือไม่

  ควรปิดจุกสายยางให้แน่น เพื่อป้องกันอาหารจากกระเพาะอาหารไหลย้อนออกมา และภายหลังการให้อาหารควรเช็ดคราบอาหารที่ปลายจุกด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้มดขึ้นตรวจเช็กตำแหน่งของสายให้อยู่ตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ก่อนเริ่มให้อาหาร ควรดูพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกควรให้ติดแน่น ระวังสายเลื่อนหรือหลุดออก ควรจำขีดความยาวของสายที่ขอบจมูก หรือบันทึกไว้ ถ้าสายผิดตำแหน่ง หรือเลื่อนหลุด ควรปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์

ข้อดีของการใส่ NG tube หรือการให้อาหารทางสายยาง

  • ใส่ง่ายและสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่แพง
  • ใช้เวลาใส่ไม่นาน ไม่ต้องมีการผ่าตัด สามารถไปเปลี่ยนสายให้ที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่ ตามที่ร่างกายควรได้รับ
  • ดูแลง่าย ไม่ต้องทำแผลทุกวัน

 

ข้อเสียของการใส่ NG tube หรือการให้อาหารทางสายยาง

  • ระคายเคืองจมูก และคอ ผู้สูงอายุบางรายอาจทนไม่ได้ และอาจดึง จนต้องใส่บ่อยๆ หรือต้องมัดมือเพื่อความปลอดภัย
  • สายยางเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งของกระเพาะอาหารได้ง่าย ทำให้ต้องใส่ใหม่
  • ต้องปลี่ยนสายบ่อย ทุก 2-4 สัปดาห์
  • เวลาใส่สายใหม่ทุกครั้ง อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ กระตุ้นการสำลัก หรืออาจทำให้ปอดอักเสบได้
  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก NG tube อาทิ แผลกดทับของสายกับเนื้อบริเวณจมูก รูจมูก และไซนัสอักเสบ อาจเกิดหูอื้อ หูชั้นกลางอักเสบได้ หรืออาจมีอาหารบางส่วนย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาจนสำลักได้
  • บางรายอาจรู้สึกว่ากลืนน้ำลายได้ไม่ปกติ เจ็บคอ กินอาหารทางปากลำบาก ฝึกกลืนยากทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ภายนอก
เปลี่ยนสายให้อาหารทางจมูก(ธรรมดา)
1,600.-

เปลี่ยนสายให้อาหารทางจมูก(ซิลิโคนพิเศษ)

1,900.-

สวนล้างจมูก

1,600.-

เปลี่ยนถุงหน้าท้อง

1,600.-

เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ

2,200.-
 
 
ค่าบริการทำแผล (ไม่รวมค่าอุปกรณ์)
 

ระดับแผลเกรด 1-2 ไม่เกิน 10 cm (Size S)

1,200.-
 
 
ค่าบริการทำแผลรายคอร์ส
 

บริการทำแผลรายคอร์ส 10 ครั้ง ลด 10%

10,800.- (จากปกติ 12,000.-)

บริการทำแผลรายคอร์ส 20 ครั้ง ลด 20%

19,200.- (จากปกติ 24,000.-)
KIN Home Care
 
 โทร : 091-803-3071 , 02-096-4996 กด 5
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id